คดีละเมิด (Tort Case)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ละเมิด

หมวด 1

ความรับผิดเพื่อละเมิด

คดีละเมิด (Tort Case) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ละเมิด

หมวด 1
ความรับผิดเพื่อละเมิด

               มาตรา 420  – 437และอื่นๆ อาทิ มาตรา 438 – 446 (การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน)

  • ม.438: ค่าสินไหมทดแทน ต้องได้เพียงพอสมควรแก่ความเสียหาย
  • ม.439 – 441: ค่าซ่อม ค่าทรัพย์สิน ค่าเสียหายต่อร่างกาย
  • ม.445: ค่าทดแทนความเสียหายทางจิตใจ (เช่น สูญเสียญาติ)
  • ม.446: ค่าทดแทนในกรณีถูกทำให้ขายหน้า เสียชื่อเสียง

ตัวอย่างคดีละเมิดและคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2566 จำเลยที่ 1 เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากโจทก์โดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเพื่อเป็นหลักประกัน การทีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หลอกหลวงโจทก์เอาไปซึ่งหนังสือค้ำประกันดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามหนังสือค้ำประกันไม่มีหลักประกันที่จะเรียกร้องเอาจากธนาคารซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์

ตามกฎหมายและมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. ม. 420, ม. 587

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2562 ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ จึงเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน ซึ่งแม้จำเลยจะมีสิทธิครอบครองแต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งกำหนดให้รัฐจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นมาเพื่อให้ราษฎรมีที่ดินทำการเกษตรและตั้งเคหสถานบ้านเรือน โดยรัฐจะเข้าไปจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลง ๆ และช่วยเหลือส่งเสริมให้ทำการเกษตรในแปลงที่ดินที่จัดให้มีประสิทธิภาพ การที่จำเลยซึ่งครอบครองทำประโยชน์อยู่ในที่ดินส่วนที่เป็นที่ตั้งทางพิพาทไม่ยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อไปทำการเกษตรในที่ดินที่ทางราชการจัดให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง และการจัดแปลงที่ดินในเขตนิคมที่ประสงค์จะให้สมาชิกของนิคมได้ใช้ประโยชน์ในแปลงที่ดินที่ทางนิคมจัดให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

ตามกฎหมายและมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. ม. 420 พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ม. 8, ม. 9, ม. 20, ม. 21, ม. 23

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2562 แม้ ป.พ.พ. มาตรา 423 ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวต่อบุคคลที่สาม แต่การกล่าวหรือไขข่าวที่แพร่หลายได้ก็ต้องมีบุคคลที่สามอยู่ การพูดคนเดียวไม่มีคนได้ยินย่อมไม่เป็นการกล่าวให้แพร่หลาย ดังนั้นถ้ามีคนแอบฟังโดยคนพูดไม่รู้ การพูดดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. เป็นผู้เริ่มต้นการตั้งโปรแกรมสนทนาผ่านบัญชีเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้บริการส่งข้อความและข้อมูลมัลติมีเดียสนทนาโต้ตอบกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้าในระบบเพื่อพูดคุยกัน โปรแกรมสนทนาดังกล่าวเป็นแบบระบบปิดมีสมาชิกเพียง 3 คนคือจำเลยทั้งสองและ พ. บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูหรืออ่านข้อความสนทนาได้ การสนทนาดังกล่าวที่มีการพูดถึงโจทก์และพนักงานอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเป็นการกล่าวที่จำเลยทั้งสองและ พ. ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันสนทนาร่วมกันโดย พ. เข้าร่วมสนทนากับจำเลยทั้งสองหลายครั้ง จึงมิใช่เป็นการที่จำเลยทั้งสองกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ส่วนการที่โจทก์แอบดูและอ่านข้อความสนทนาและนำไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบเอง ย่อมไม่ทำให้การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลทั้งสามเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายให้บุคคลอื่นรับทราบได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ตามกฎหมายและมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. ม. 423

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2562 โจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่เป็นเหตุโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับลักษณะการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดว่าการกระทำดังกล่าวของ จ. จะมีลักษณะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลย ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมายที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

จำเลยมอบอำนาจให้ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยออกหนังสือค้ำประกันแทนจำเลยได้ตามเงื่อนไข การที่ จ. ออกหนังสือค้ำประกันที่สาขาของจำเลยโดยใช้กระดาษแบบฟอร์มของจำเลย ถือได้ว่าทางปฏิบัติของจำเลยผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นการกระทำอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน หนังสือค้ำประกันจากธนาคารจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันการชำระเงินค่าสินค้าของ ม. การที่ ม. ไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ ความเสียหายของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายและมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. ม. 425, ม. 426, ม. 427, ม. 820, ม. 822, ม. 823

คำฟ้องเรียกอะไรได้บ้าง?
ในคดีละเมิด โจทก์สามารถเรียกร้องได้ตามลักษณะความเสียหาย เช่น

1.ค่ารักษาพยาบาล

อาทิ ค่าหมอ ค่ายา จากการบาดเจ็บ

2.ค่าเสียโอกาส

อาทิ รายได้ที่ขาดหายไป

3.ค่าเสียหายต่อทรัพย์

อาทิ ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสีย

4.ค่าทดแทนความทุกข์

อาทิ ค่าทดแทนจากความเจ็บปวด สูญเสีย หรือเสียชื่อเสียง

5.ค่าเสียหายต่อญาติ

อาทิ ถ้าผู้เสียหายตาย ญาติสามารถเรียกค่าทดแทนได้ตาม ม.445

อ้างอิง กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ

ติอต่อ ⚖️

 เพจ Facebook : บริษัทกฎหมายจักรพงษ กิมติน

 เพจ Facebook  : ทนายแพรว ดาวัลย์

www : chakphongklawfirm.com

📞 0949751151,0625432502